แคลเซียมสำคัญกับผู้หญิงอย่างไร

แคลเซียมสำคัญกับผู้หญิงอย่างไร

แคลเซียมสำคัญกับผู้หญิงอย่างไร
เมื่อไรผู้หญิงควรเสริมแคลเซียม

 

          แคลเซียม’ (Calcium) เป็นแร่ธาตุแรกๆ ที่ทุกคนรู้จัก เพราะเป็นแร่ธาตุที่พบมากสุดในร่างกาย เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน และไม่ได้เพียงช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง แคลเซียมยังมีส่วนช่วยในการทำงานของอวัยวะสำคัญต่างๆ อาทิ การทำงานของกล้ามเนื้อ การทำงานของหลอดเลือด การเต้นของหัวใจ การทำงานของระบบประสาท และฮอร์โมน โดยปกติร่างกายจะมีกลไกควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดให้สมดุล หากระดับแคลเซียมต่ำ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เพราะร่างกายจะดึงแคลเซียมในกระดูกมาทดแทน เพื่อให้แคลเซียมในเลือดสมดุล เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างแคลเซียมเอง

 

เมื่อขาดแคลเซียม เสี่ยงโรคอะไรบ้าง?

          หากระดับแคลเซียมไม่สมดุล อาจทำให้มีความเสี่ยงโรคต่างๆ ดังนี้

1.      โรคกระดูกพรุน เมื่อร่างกายขาดแคลเซียม หรือมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ร่างกายจะดึงแคลเซียมจากกระดูกมาทดแทน เมื่อความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน เปราะบาง และสามารถหักได้ง่าย ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะมีโอกาสสูญเสียมวลกระดูกเพิ่มขึ้น

2.     ภาวะความดันโลหิตสูง จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีระดับแคลเซียมต่ำกว่าจะมีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูง หากร่างกายได้รับแคลเซียมเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตก็จะลดลง เนื่องจากแคลเซียมทำให้ระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.     PMS หรืออาการก่อนมีประจำเดือน อาทิ ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า หิวบ่อย มีสิวขึ้น เป็นต้น อาการเหล่านี้มักปรากฎในช่วงก่อนมีประจำเดือน และเมื่อประจำเดือนมาแล้วอาการต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไป มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติในช่วงตกไข่ จากการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่รับประทานแคลเซียมขนาด 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน ลดอาการ PMS ได้ 50%

 

ความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนกับแคลเซียม

แคลเซียมมีความเชื่อมโยง และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) หากมีภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง จะยิ่งส่งผลกับระดับแคลเซียม เมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้นหรือลดลงในระหว่างรอบประจำเดือน ส่งผลให้ระดับแคลเซียมเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วย เมื่อระดับแคลเซียมไม่สมดุล ไม่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการก็เสี่ยงโรคต่างๆ ตามที่กล่าวข้างต้น และเมื่อขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนก่อนวัยหมดประจำเดือน ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่ร่างกายขาดแคลเซียม

       ขณะมีประจำเดือน ระดับแคลเซียมในเลือดเป็นอย่างไร?

จากงานวิจัยในอาสาสมัครนักศึกษาแพทย์ที่มีสุขภาพดี 25 คน เพื่อศึกษาระดับแร่ธาตุสำคัญในเลือดในช่วงมีประจำเดือน ประกอบด้วย แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และฟอสฟอรัสอนินทรีย์ (Pi) ตามลำดับในระหว่างรอบประจำเดือน

เพราะรอบประจำเดือนในแต่ละรอบจะแบ่งเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย

1.     ระยะมีประจำเดือน (Menstrual Phase) จะนับเป็นวันแรกของรอบประจำเดือน โดยแต่ละรอบประจำเดือนจะมีระยะ 3-7 วัน

2.     ระยะฟอลิคิวลาร์ (Follicular Phase) เมื่อเข้าสู่ระยะนี้ร่างกายจะสร้างฮอร์โมน FSH เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่ให้มีการสร้างไข่ในแต่ละรอบ จะเป็นระยะที่ใช้เวลายาวสุดขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้หญิงแต่ละคน

3.     ระยะไข่ตก (Ovulation Phase)  ในช่วงนี้ร่างกายจะสร้างฮอร์โมน LH และ ฮอร์โมน FSH จะลดต่ำลง

4.     ระยะลูเทึยล (Luteal Phase) เป็นช่วงไข่ตกลงมา รังไข่จะสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรตสูงขึ้นเพื่อสร้างผนังมดลูกให้หนาตัว

ซี่งในแต่ะละระยะ ระดับแคลเซียมก็จะแตกต่างกัน เนื่องจากกระบวนการทำงานของร่างกายผู้หญิง พบว่า ระดับแคลเซียมจะสูงสุดในระยะ Ovulation Phase และต่ำสุดในช่วงระยะ Luteal ตามภาพ ในช่วงที่ไข่ตกจึงทำให้ผู้หญิงเกิดอาการก่อนมีประจำเดือนได้ และยิ่งรุนแรงขึ้น หากระดับแคลเซียมในร่างกายไม่สมดุลตั้งแต่แรก



 

ผู้หญิงแต่ละช่วงวัย ต้องการแคลเซียมเท่าไร?

เพราะแคลเซียม เป็นแร่ธาตุสำคัญของกระบวนการทำงานของร่างกาย ทั้งเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน และช่วยให้การทำงานของส่วนต่างๆ ของร่างกายมีประสิทธิภาพ แคลเซียมจึงเป็นแร่ธาตุที่ควรได้รับในปริมาณที่เหมาะสมกับช่วงอายุ โดยตามหลักโภชนาการระบุดังนี้


จากงานวิจัยพบว่า คนไทยได้รับแคลเซียมจากอาหารที่รับประทานในแต่ละวันเฉลี่ยวันละ 400 มิลลิกรัม เท่ากับในทุกๆ วัน เราได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอกับปริมาณที่ร่างกายต้องการ การเสริมแคลเซียมให้เพียงพอจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยควรเลือกแคลเซียมให้เหมาะสมกับช่วงอายุ ในวัยเด็กและวัยรุ่นสามารถเสริมแคลเซียมด้วยนมได้ เนื่องจากเป็นวัยที่ต้องการพลังงานและโปรตีน แต่เมื่ออายุมากขึ้น ระบบเผาผลาญเริ่มลดลง การเสริมด้วยนมในปริมาณที่มากขึ้น อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น และทำให้เกิดภาวะอ้วนได้ และการที่น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อกระดูก เพราะกระดูกข้อและเข่าจะต้องรับน้ำหนักมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่เมื่ออายุมากขึ้น ควรเลือกเสริมด้วยแคลเซียมที่มีปริมาณสูง แต่ให้พลังงานน้อยกว่า เพื่อให้ได้รับปริมาณแคลเซียมตามที่ร่างกายต้องการ เพียงพอสำหรับใช้ความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน ลดความเสี่ยงจากภาวะกระดูกพรุน รวมถึงเพิ่มระดับแคลเซียมในเลือด โดยเฉพาะในช่วงที่ผู้หญิงมีภาวะแคลเซียมต่ำ จากรอบประจำเดือน บรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) ซึ่งภาวะนี้มีผลต่อประจำเดือน 70-90% ทำให้เกิดอาการกับร่างกายและอารมณ์ที่หลากหลาย อาทิ ท้องอืด ตะคริว ซึมเศร้า และเหนื่อยล้า การได้รับแคลเซียมช่วยลดอาการ PMS ได้

เสริมแคลเซียมด้วย Kay Kay Vegaflex ‘เคย์ เคย์ เวก้าเฟล็กซ์’ ดีอย่างไร?



ด้วยข้อจำกัดของช่วงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น ระบบเผาผลาญ ระบบการดูดซึมสารอาหารของร่างกายก็อาจเสื่อมตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น การเลือกเสริมแคลเซียมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซียมได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

Kay Kay Vegaflex ‘เคย์ เคย์ เวก้าเฟล็กซ์’ เป็นมากกว่าโปรตีนจากพืช เพราะประกอบด้วยแคลเซียม 100 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค เสริมประสิทธิภาพในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและข้อด้วยคอลลาเจน และมีวิตามิน D3 ช่วยร่างกายในการดูดซึมแคลเซียม รวมถึงวิตามิน K2 ช่วยคงสภาพของกระดูก ลดภาวะการเสื่อมของกระดูก ไม่มีส่วนผสมถั่วเหลือง, ไม่มีกลูเตน, ไม่ผสมนมวัว ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติสามารถรับประทานได้

สนใจผลิตภัณฑ์ Kay Kay Vegaflex ‘เคย์ เคย์ เวก้าเฟล็กซ์’ สามารถสั่งซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ shopee และ Lazada หรือสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line: @kaykayth.official

         

 

Reference:

1.      https://www.ijpp.com/IJPP%20archives/1995_39_4/411-414.pdf

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้